รวมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด ทั้งระบบ ประเภทตลอดจนส่วนประกอบ

กล้องวงจรปิด

รวมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด ทั้งระบบ ประเภทตลอดจนส่วนประกอบ

กล้องวงจรปิด 1 อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คอยรักษาความปลอดภัย ตรวจตราความเรียบร้อยให้กับบริเวณบ้าน คอนโดมิเนียม ที่อยู่อาศัย ชุมชน ท้องถนนรวมถึงสถานที่ราชการและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ คอยเฝ้าระวังภัย ดูแลทรัพย์สินรวมถึงบุคคลเช่น เด็กหรือผู้สูงอายุ รวมถึงสัตว์เลี้ยงภายในบ้านยามที่เราไม่อยู่ ด้วยประโยชน์ใช้สอยที่ครอบคลุมหลายอย่าง ส่งผลให้อุปกรณ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมทั่วโลก มองไปทางไหนก็จะเจอติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าเพราะอะไรรูปร่างของกล้องจึงมีลักษณะที่ต่างกัน อีกทั้งส่วนประกอบและระบบต่าง ๆ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เพื่อให้ผู้สนใจเลือกใช้งานได้ง่ายขึ้นจึงขอรวบรวมข้อมูลไว้ในบทความเดียว

กล้องวงจรปิดมาจากไหน ?

เกิดขึ้นในปีช่วงปลายทศวรรษที่ 2513 เป็นไปเพื่อการรักษาความปลอดภัยให้ธนาคารหรือบางสถานที่ที่ต้องการการเฝ้าระวังภัยขั้นสูง ไม่ได้ใช้กันแทบทุกสถานที่เหมือนในปัจจุบัน เพราะราคาที่สูง ยากจะจับต้องได้ ซึ่งผิดกับในสมัยนี้ที่นอกจากจะมีหลายราคาให้เลือกแล้วยังมีลูกเล่นและได้รับการพัฒนาให้สามารถควบคุมจากระยะไกลได้

ระบบของกล้องมีแบบใดบ้าง

กล้องวงจรปิดหรือ Closed Circuit Television (กล้องรักษาความปลอดภัย,กล้องระวังภัย)  จะถูกแบ่งออกหลัก ๆ เป็น 2 ประเภทด้วยกัน
1.กล้องแบบอนาล็อก (Analog Camera)
2. กล้องแบบไอพี (IP Camera)

กล้องแบบอนาล็อค ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีจะใช้สายสัญญาณในการรับส่งข้อมูล โดยจะเป็นชนิด Coaxial หรือตระกูล RG เพื่อเชื่อมจากกล้องไปเก็บไว้ใน Digital Video Recorder (DVR) ทำให้สัญญาณมีค่าง stable ค่อนข้างดี ไม่ค่อยมีคลื่นรบกวน เป็นระบบที่มีราคาถูกกว่า แต่อาจจะมีข้อเสียตรงถ้าจะดูภาพย้อนหลัง ต้องมาดูที่มอนิเตอร์ ดูจากมือถือแบบเรียลไทม์ยังไม่สามารถทำได้

กล้องแบบไอพีคาเมร่า (Internet Protocol Camera)สำหรับกล้องประเภทนี้การส่งสัญญาณจะเป็นแบบ Digital สามารถส่งและรับข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย internet ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดูภาพได้จากทั่วทุกมุมโลกแบบสด ๆ ซึ่งด้วยข้อดีที่เหมือนรวมเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาทำให้ราคาค่อนข้างสูงและถ้าต้องติดจำนวนเยอะ ๆ จะต้องมีการออกแบบระบบเน็ตเวิร์คอย่างมีคุณภาพ

ส่วนประกอบที่ควรรู้

กล้องกันขโมยหลัก ๆ จะมีดังนี้
1.ส่วนที่ใช้ส่งสัญญาณภาพ ได้แก่ ตัวกล้องและเลนส์
2.ส่วนที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อ คือ สายต่าง ๆ หรือ ตัว DVR

3.ส่วนที่ใช้รับสัญญาณภาพ คือ จอมอนิเตอร์

กล้องวงจรปิดชนิดใดที่เหมาะสมกับเรา

กล้องโทรทัศน์วงจรปิด
กล้องที่เราเห็นโดยทั่วไปมีหลายลักษณะเป็นการออกแบบมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย การใช้งานและมีความสวยงามที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.กล้องวงจรปิดแบบมาตรฐาน
กล้อง Box (กล้องกระบอก หรือ Standard Camera) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายกล่อง จะไม่ได้มีเลนส์มาให้และไม่เหมาะกับที่แสงน้อย ควรติดตั้งในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ

2.กล้องวงจรปิดแบบ Infared (Infared Camera: IR Camera )
กล้องอินฟาเรด  มีทั้งแบบโดมและแบบกระบอก  จะมีหลอด LED อยู่โดยรอบ อาศัยแสงจากหลอด Infared ไปกระทบกับวัตถุ สามารถใช้งานได้แม้ในที่ที่มืดสนิท ไม่มีแสงสว่าง จึงสามารถติดในที่สถานที่มืด ๆ ได้

3.กล้องวงจรปิดแบบโดม ( Dome Camera )

เหมาะกับการใช้งานภายในอาคาร บ้านพักหรือสถานที่ที่ต้องการตวามสวยงามด้วย เพราะออกแบบมาให้ดูเรียบร้อย กะทัดรัด มีส่วนโค้งคล้ายรูปโดม มีทั้งรุ่นที่มี Infared และไม่มี Infared มีความสามารถหมุน 360 องศา จะเลือกแบบกันน้ำก็ได้หรือถ้าสถานที่ติดตั้งจะไม่มีละอองน้ำก็เลือกแบบไม่กันน้ำก็ได้

4.Bullet Camera (กล้องวงจรปิดแบบทรงกระบอก)

เป็นรุ่นที่สามารถติดตั้งได้ทั้งข้างนอก ข้างในอาคารเพราะว่ามีความทนทานทั้งน้ำ ทั้งแดดต่าง ๆ รวมถึงฝุ่น สามารถติดที่รั้ว ที่ท้องถนน รวมถึงโรงงามอุตสากรรม เพราะสามารถติดตั้งได้แทบจะทุกสภาพแวดล้อม

5.Spy Camera (กล้องวงจรปิดแบบซ่อน)

กล้องแบบซ่อนหรือเรียกว่ากล้องรูเข็ม ผู้ใช้งานมักมีความประสงค์ไม่ต้องการให้ทราบว่าได้มีการติดตั้งกล้องเอาไว้บริเวณดังกล่าว เพราะมีขนาดที่เล็กมากจนยากจะสังเกตได้ อาจมีขนาดเพียงเท่ากระดุมติดเสื้อหรือฝาขวดน้ำเท่านั้น แต่ความละเอียดไม่ค่อยสูงนัก บางรุ่นถ้าอยากได้เสียงด้วยก็ต่อไมค์เพิ่มได้

6.กล้องวงจรปิด Speed Dome PTZ 

กล้องวงจรปิดสปีดโดม ค่อนข้างเป็นกล้องที่สามารถสั่งการควบคุมได้หลากหลาย ควมคุมการทำงานได้อย่างอิสระ เช่น สามารถสั่งการให้ทำอะไรได้ผ่านคีย์บอร์ด ตอบโจทย์การใช้งานที่ตรวจตราดูภาพเหตุการณ์แบบโดยรวม เช่น ตามห้างใหญ่ ห้างสรรพสินค้า เราสามารถควบคุมตัวกล้องให้หมุนไปที่ที่เราต้องการ อาจจะซูมเองหรือถ้าราคาสูงหน่อยก็สามารถซูมเองอัตโนมัติ

วิธีเลือกให้ใช้งานได้เหมาะสม

กล้องที่เหมาะสม
1.ดูที่วัตถุประสงค์ความต้องการว่าต้องการนำไปใช้ทำอะไร ต้องการรุ่นที่มีคุณภาพ ความละเอียดคมชัดสูงแค่ไหน
2.ต้องการแบบดีสามารถดูได้จากระยะไกลหรือไม่ เช่น หากเป็น ร้านค้า สำนักงานที่เจ้าของกิจการไม่ได้อยู่ที่ทำงานตลอดเวลา ควรเลือกแบบ IP เพราะจะได้เห็นภาพตลอดจากที่ไกล ๆ
3. เลือก HDD ที่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงต้องมีคถณภาพ
4. สำรวจสภาพแวดล้อมและตำแหน่ง ความมืด สว่าง ละอองฝน ฝุ่น ที่จะทำการติดตั้ง

5.ต้องการลูกเล่นหรือไม่

สรุป การเลือกกล้องวงจรปิดนั้นนั้นอยู่ที่เราต้องการนำไปใช้ประโยชน์อะไรจึงจะสามารถเลือกระบบ เลือกประเภทของกล้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม หรือหากมีข้อสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามได้