การที่กำลังจะเป็นคุณแม่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมของใช้หลายอย่างเพื่อต้อนรับเจ้าตัวน้อย แน่นอนว่าสุขภาพของคุณแม่ที่ต้องดูแลให้ดีระหว่างการตั้งครรภ์ และให้นมบุตร แต่ด้วยยุคที่มีโรคภัยต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายนี้ การที่คุณแม่จะไม่ป่วย และไม่ได้ใช้ยาเลยคงเป็นไปได้ยาก และไม่มีทางรู้เลยว่ายาที่ต้องใช้รักษาการป่วยนั้น จะส่งผลต่อการให้นมบุตรหรือไม่ การสำรองน้ำนมจึงเป็นเรื่องที่ควรทำไว้ก่อน
การใช้ยาในช่วงให้นมบุตรของคุณแม่
การใช้ยาในช่วงให้นมบุตรไม่ได้อันตราย และน่ากลัวอย่างที่คิด เนื่องจากอัตราการดูดซึมยาที่ทางเดินอาหารของทารกนั้นยังต่ำอยู่ แต่ยาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน และเพื่อความปลอดภัย คุณแม่ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำเมื่อคุณแม่ต้องใช้ยา ในช่วงให้นมบุตร ดังนี้
- ทุกครั้งที่จะต้องรับการรักษาด้วยยา ต้องแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรที่จ่ายยาให้ทุกครั้งว่า กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร เพื่อจะได้รู้ว่าเป็นยาที่อันตรายต่อบุตรมากน้อยเพียงใด
- หากต้องใช้ยาที่จะมีการขับออกทางน้ำนม และกระทบต่อการให้นมบุตร ต้องจัดสรรเวลาในการให้นมบุตรให้ดี เช่น ให้นมบุตร ในช่วงใกล้ถึงเวลาบริโภคยาในแต่ละวัน เพราะจะเป็นช่วงที่มียาในเลือด และในน้ำนมน้อยที่สุด แต่ถ้าหากไม่สะดวกให้ตอนนั้นก็ให้ปั๊มน้ำนมเก็บไว้ก่อนหน้า หรืออาจต้องให้นมอื่นเสริมกันกับนมแม่ เนื่องจากยาบางชนิด มีระดับการลดลงในน้ำนมช้ากว่าในเลือด
- หาดเป็นยาที่ไม่ปลอดภัยต่อการให้นมบุตร และจำเป็นต้องทานจริง ๆ แพทย์ และเภสัชจะแนะนำช่วงเวลา และวิธีการให้น้ำนมที่ถูกต้องกับคุณแม่ เช่นบีบน้ำนมครั้งแรกทิ้ง แล้วรอให้เวลาให้ยาในตัวแม่เหลือ 10%
- เมื่อคุณแม่ป่วย ต้องไปพบแพทย์ หรือปรึกษาเภสัชกร ไม่ควรไปซื้อยาทานเอง แต่ก็ไม่ต้องตื่นตระหนกว่าต้องหยุดให้นมลูก เพราะแพทย์ และเภสัชกรสามารถแนะนำการให้นมลูกอย่างปลอดภัยกับคุณแม่ได้
ยาที่คุณแม่ห้ามใช้ในช่วงให้นมบุตร
- Amiodarone เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ยาเคมีบำบัด เพื่อรักษามะเร็ง ได้แก่ Cyclophosphamide Cyclosporine Doxorubicin และ Methotrexate
- Ergotamine + Caffeine เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดศีรษะ
- ยากดภูมิคุ้มกัน
- ยากลุ่มกรดวิตามินเอ ชนิดทาน เช่น Isotretinoin มักใช้เป็นยารักษาสิว
การสำรองน้ำนมไว้ให้คุณลูก
จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้น คงจะเห็นแล้วว่าบางครั้งชีวิตเราก็มีเรื่องไม่คาดคิด ถึงแม้จะดูแลตัวเองดีแค่ไหน ก็อาจเจ็บป่วยจนต้องได้รับการรักษาได้ และยังไม่รวมเรื่องฉุกเฉินอื่น ๆ ในชีวิต ดังนั้นการสำรองน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยคุณแม่จะสามารถสำรองน้ำนมได้หลายวิธี ทั้งปั๊มน้ำนมด้วยตัวเอง และปั๊มน้ำนมโดยใช้เครื่อง ซึ่งการปั๊มน้ำนมโดยใช้เครื่องปั๊มจะสะดวก รวดเร็ว และได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า
เครื่องปั๊มนม
เครื่องปั๊มนม คือ อุปกรณ์เสริมที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนมของคุณแม่ให้มากขึ้น โดยเครื่องปั๊มน้ำนม แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- เครื่องปั๊มนมแบบใช้มือ
ใช้แรงมือคุณแม่ในการปั๊ม เมื่อยหน่อย แต่ประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถปรับอัตราเร็วในการปั๊มเองได้
- เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า
ใช้กำลังไฟฟ้าในการปั๊ม มีกลไกการทำงานต่างกันไปในแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ แต่มักมีระดับแรงดูด และอัตราเร็วในการปั๊มน้ำนมให้เลือก หากเทียบกับแบบที่ใช้มือจึงมีแนวโน้มปั๊มน้ำนมให้คุณแม่ได้มากกว่า เมื่อใช้เวลาเท่ากัน
การใช้เครื่องปั๊มน้ำนม
การใช้งานเครื่องปั๊มน้ำนม ทั้งแบบไฟฟ้าและแบบมือ มีดังนี้
- ทำความสะอาดมือ ขวดนม ภาชนะรองรับน้ำนม และเครื่องปั๊มน้ำนมให้เรียบร้อย
- ทำความสะอาดหน้าอกแม้ โดยเฉพาะบริเวณหัวนมด้วยน้ำอุ่น หรือทิชชู่เปียกที่ไม่ได้ผสมแอลกอฮอล์ 2 ครั้ง
- เริ่มการนวดบริเวณเต้านม และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณเต้านม เพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
- นำกรวยปั๊มมาครอบหัวนมของคุณแม่ โดยให้หัวนมอยู่ที่จุดจึงกลาง และใช้มืออีกข้างประคองหน้าอกเอาไว้
- เริ่มการปั๊มน้ำนม สำหรับแบบมือคุณแม่ต้องออกแรงเอง สำหรับแบบไฟฟ้าให้เลือกอัตราเร็วในการปั๊มจากช้า ไปเร็วขึ้นเรื่อย ๆจนกว่าน้ำนมจะไหลคงที่ จึงค่อยผ่อนอัตราการปั๊ม
- ปั๊มน้ำนมใส่ภาชนะจนได้ปริมาณที่ต้องการ
จากนั้นเก็บน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส น้ำนมจะอยู่ได้ ประมาณ 6 ชั่วโมง
ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส (ตู้เย็น) น้ำนมจะอยู่ได้ ประมาณ 5 วัน
ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส (ตู้แช่แข็ง) น้ำนมจะอยู่ได้ ประมาณ 6 – 12 เดือน
สรุป การใช้ยาในช่วงให้นมบุตร ไม่ได้อันตรายต่อทารกเสมอไป แต่อย่างไรก่อนใช้ยาทุกครั้งคุณแม่ควรสอบถาม และปรึกษาแพทย์กับเภสัชกรก่อน เพื่อวางแผนการให้นมบุตรได้อย่างถูกต้อง และทางที่ดีควรสำรองนมบุตรเก็บไว้ด้วย ซึ่งเครื่องปั๊มน้ำนมจะช่วยอำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพการปั๊มน้ำนมให้กับคุณแม่ได้
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกของใช้เด็กได้ที่ https://www.tc-seo.com/category/ของใช้เด็ก/