CCTV หรือ ที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ กล้องวงจรปิด หรือ ชื่อเต็ม ๆ เลยคือ ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television System: CCTV System) สำหรับในอดีตมีราคาที่สูงลิ่วมาก จึงนิยมใช้ที่ธนาคารหรือสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง ๆ แต่สำหรับยุคปัจจุบันนั้น ราคาของอุปกรณ์ช่วยรักษาความปลอดภัยนี้ ลดลงอย่างมาก ทำให้สามารถเอื้อมถึงได้และได้รับความนิยมอย่างมาก ในการนำมาติดเพื่อดูแลความปลอดภัยของคน สถานที่ รวมถึงทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ
แล้วด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีการพัฒนาและคิดค้นเทคโนโลยีออกมหลากหลายมากขึ้น เกิดเป็นนวัตกรรมที่มีให้เลือกหลายรุ่น หลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งาน จึงควรที่ทำความเข้าใจพื้นฐานและระบบการทำงานของตัวกล้องกันก่อน เพื่อให้เลือกได้ถูกวัตถุประสงค์
ระบบพื้นฐานของกล้อง CCTV
ระบบการทำงานโดยทั่วไปของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ อาศัยการส่งสัญญาณภาพจากตัวกล้องเพื่อไปแสดงยังระบบแสดงผล โดยตัวกล้องเราจะติดบริเวณที่เราต้องการรักษาความปลอดภัยและเฝ้าดูความเคลื่อนไหว ส่วนระบบแสดงผล คือ บริเวณที่เราสามารถติดตามดูโดยผ่านจอมอนิเตอร์
สำหรับระบบการเชื่อมต่อจะมีหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
1.ระบบ Network camera
2.ระบบ Analog camera (อนาล็อค)
สำหรับความเหมือนและความต่างของ 2 เพื่อเป็นการประกอบการพิจารณาประเภทที่เหมาะสม
แบบแรก ระบบ Network camera จะ เชื่อมต่อ internet ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและค่อนข้างมีลูกเล้นที่หลากหลาน
ระบบ Analog camera ใช้การเชื่อมต่อผ่านสายที่มีชื่อว่า Coaxial Cable
หลังจากที่พอจะเข้าใจระบบคร่าว ๆ ถัดมา มาดูกันที่อุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมพร้อมเพื่อการติดตั้ง
โดยอุปกรณ์ CCTV จะแบ่งออกเป็น
1. ตัวสำหรับส่งสัญญาณ
จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ ตัวกล้องรับภาพ เลนส์ (Lens ) ขายึดกล้อง ชุดหุ้มกล้องและหัวส่วย ซึ่งแต่ละประเภทก็มีความเหมาะสมแตกต่างกัน
2.ตัวสำหรับเชื่อมสัญญาณ
จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ เครื่องสลับภาพ เครื่องแบ่งสัญญาณภาพและในส่วนของ อุปกรณ์ควบคุม
3.ตัวทำหน้าที่ในการรับสัญญาณ
จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ ตัวจอมอนิเตอร์ (Monitor) เครื่องบันทึกภาพ
ถัดมาเรามาดูหน้าที่ของอุปกรณ์ที่กล่าวข้างต้นเพื่อให้เข้าใจและประกอบการเลือกเบื้องต้น
หลักการการทำงานของอุปกรณ์
1.CAMERA หรือ ตัวกล้อง ถ้าแยกตามสีจะแบ่งเป็น ภาพสีและภาพขาวดำ
สำหรับกล้องสีเราจะติดตั้งบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ ค่อนข้างแยกรายละเอียดของสิ่งของ ให้กับเราได้อย่างคมชัด เหมาะกับการติดตั้งตามสถานที่ที่ต้องการเห็นรายละเอียดที่ชัดเจน เช่น ร้านค้า มินิมาร์ท สำนักงาน โรงแรม โรงเรียน สถานีตำรวจ คอนโดมิเนียม เป็นต้น
ถัดมากล้องขาวดำ อาจสงสัยว่าทำไมถึงเลือกใช้กล้องขาวดำ สาเหตุเป็นเพราะ กล้องประเภทนี้สามารถจับภาพเคลื่อนไหวในที่ที่มีแสงเพียงน้อยนิดได้ ทำให้เหมาะกับการติดตั้งบริเวณที่ต้องคอยเฝ้าระวังยามค่ำคืน หรือที่ที่ไม่ค่อยมีแสงเพียงพอ เช่น ตามท้องถนนที่อาจจะเปลี่ยวหน่อย มีรถสัญจรน้อย มีเสาไฟที่ไม่สว่างมากนัก รวมถึงตามโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ใช้กำลังคนในการตรวจตราไม่เพียงพอ บางจุดอาจไม่มีแสงไฟเท่าที่ควร กล้องขาวดำ สามารถตอบโจทย์ดูแลตรงนี้ได้
2.เลนส์ (Lens) อาจมีความคล้ายกับกล้องถ่ายภาพโดยทั่วไป ที่นอกจากตัวกล้องแล้วยังต้องมีส่วนเลนส์ด้วย โดยทั่วไปเราจะแบ่งเลนส์ออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน
เลนส์ ปรับ Focus ได้อย่างเดียว (ประเภท NO IRIS )
เลนส์ประเภทที่เราสามารถสามารถปรับความคมชัดและความสว่างได้ (Manual IRIS)
เลนส์ประเภทที่สามารถปรับความคม ปรับแสงได้แบบออโต้ ( Auto IRIS)
เลนส์แบบ ที่เราสามารถดึงภาพในระยะไกล ๆ ได้ ( Lens Zoom)
3.ขายึดกล้อง เราจะคำนึงจากน้ำหนักของอุปกรณ์อื่น ๆ ดังนั้นอาจพิจารณาหลังจากที่ทราบน้ำหนักทั้งหมดแล้ว
4. ชุดหุ้มกล้อง (Housing) มีทั้งแบบ indoor และ outdoor ใช้ภายในและภายนอกอาคาร จุดประสงค์คือการป้องกันแสงแดด ฝุ่นละออง น้ำฝนมาทำร้ายกล้องโดยตรง ให้เลือกหลายแบ ถือได้ว่าเป็นตัวสำคัญในการช่วยสามารถช่วยยืดอายุการใช้งาน
5.หัวส่าย ตัวนี้จะทำให้กล้องส่ายไปมาได้ (ซ้ายขวา)
6.เครื่องสลับภาพ ทำหน้าที่ในการสลับภาพเพื่อให้ภาพมาขึ้นที่หน้าจอ
7.จอมอนิเตอร์ (Monitor) จอรับภาพ
8. เครื่องบันทึกภาพ มี 2 ระบบใหญ่
8.1 ระบบ Analog
ระบบ VHS
ระบบ Time lapse
8.2 ระบบ Digital
ระบบ PC- BASE
ระบบ DVR (Digital Video Recorder)
ระบบ Stand alone
รูปแบบการติดตั้ง
1.ติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed Camera) : ไม่สามารถขยับได้
2.ติดตั้งแบบหมุนปรับทิศทางได้ (Moving Camera) : หมุน ปรับได้
การเดินสัญญาณ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประการ คือ ระบบการเดินสายสัญญาณ โดยจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1.ภายในอาคาร
ถ้าเป็นภายในอาคารที่สามารถสังเกตเห็นสายต่าง ๆ ได้ง่ายนั้น มักคำนึงถึงความสวยงาม ความเรียบร้อย ยิ่งหากเป็นห้องประชุม อาจต้องมีการร้อยท่อสายไฟและสัญญาณ มีกระบวนการวางแผนเพื่อการเก็บท่อร้อยสายไฟให้มีความมิดชิด ตรงนี้อาจต้องพึ่งพาช่างที่มีประสบการณ์และมีฝีมือ
2.ภายนอกอาคาร
จริง ๆ ใช่ว่าภายนอกจะไม่ต้องการความมีระเบียบเรียบร้อยหรือไม่ต้องการความสวยงามแต่อย่างใด อีกทั้งหากต้องเดินสายข้ามตึกก็ต้องมีวิธีและการวางแผน ยิ่งหากมีถนนกั้นอยู่ ยิ่งต้องมีความรัดกุม วางแผนอย่างดีก่อนเดินสาย เพราะความปลิดภัยของผู้ใช้มีความสำคัญมาก ต้องมีการฝังท่อสำหรับเดินสาย
สรุป CCTV มีหลักการพื้นฐานที่ต้องทำความเข้าใจเสียก่อน และการติดตั้งจะต้องทราบจุดประสงค์ สถานที่และสภาพแวดล้อมก่อน