ชวนคุณแม่มือใหม่เข้ามาทำความรู้จักกับการดูแลรักษาเครื่องปั๊มนมให้มากขึ้น

เคล็ดไม่ลับในการดูแลรักษาเครื่องปั๊มนม

เคล็ดไม่ลับในการดูแลรักษาเครื่องปั๊มนม เพื่อความสะอาดและเพิ่มอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น

     อุปกรณ์เกี่ยวกับแม่และเด็กสิ่งสำคัญที่สุดคือความสะอาด เครื่องปั๊มนมก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นทุก ๆ  ขั้นตอนของการทำความสะอาด พร้อมกับการดูแลรักษาจึงเป็นเรื่องที่คุณแม่จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย รวมถึงช่วยให้การใช้งานของตัวช่วยตัวนี้ ให้มีอายุการใช้งานยืนยาวมากยิ่งขึ้น วันนี้จึงยกเอาการทำความสะอาด และดูแลรักษาเครื่องปั้มนมมาให้ได้เรียนรู้ เพื่อให้นำไปใช้งานกับชีวิตประจำวันของคุณแม่ให้นมทุกคนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

  • อย่าวางชิ้นส่วนต่าง ๆ  ของเครื่องปั๊มนมทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง

     แม้ว่านมแม่จะมีการบูดเสียยาก แต่ก็ยังมีโอกาสจะเสียได้หากอยู่ในอุณหภูมิปกตินานเกินไป หลังการใช้งานเครื่องปั๊มนมเสร็จแล้ว คุณแม่ต้องไม่วางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ ควรเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศา และอีกเหตุผลที่คุณแม่ไม่ควรจะวางทิ้งไว้คือ สิ่งสกปรกต่าง ๆ  มีโอกาสปลิวเข้าไปในอุปกรณ์ที่ปั้มนมได้ และอาจจะทำให้น้ำนมรอบต่อไปบูดเสียง่ายมากขึ้น ดังนั้นปั๊มเสร็จต้องรีบเก็บเข้าตู้เย็นหรือทำความสะอาดทันทีจะดีที่สุด

  • นำอุปกรณ์ที่ต่อเครื่องปั้มนมไฟฟ้าแช่ตู้เย็น

     ต่อจากการไม่วางทิ้งไว้ หากคุณแม่สะดวกจะเก็บเข้าตู้เย็นได้ทันทีก็ควรทำเลย โดยแช่ในตู้เย็นอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศา ที่สำคัญเลยก็คือคุณแม่ต้องใส่ภาชนะเก็บแยกอย่างดี ห้ามแช่รวมกับอาหารสดอย่างเนื้อสัตว์ ผักต่าง ๆ  หรืออาหารในตู้เย็น เพราะหากกลิ่นเหล่านั้นติดที่อุปกรณ์เครื่องปั้มน้ำนมแล้ว เวลาปั๊มนมรอบถัดไปก็อยากจะทำให้กลิ่นไม่พึงประสงค์ในตู้เย็นเข้าไปในน้ำนมที่จะให้ลูกรับประทาน และเมื่อไรที่นมแม่มีกลิ่นไม่คุ้นเคย เจ้าหนูน้อยก็จะมีปัญหาไม่ยอมดูดนมนั้นแน่นอน

ถ้าหากไม่อยากเสียน้ำนมไป ควรแช่อุปกรณ์เครื่องปั้มนมแยกหรือใส่ถุงกันกลิ่นต่าง ๆ  ก่อนจะแช่ในตู้เย็น สำหรับคุณแม่ที่ต้องไปทำงานนอกบ้านและที่ทำงานไม่มีตู้เย็นเพื่อให้เก็บอุปกรณ์เครื่องปั๊มนม ให้คุณแม่เก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ  เหล่านั้นลงกระเป๋าเก็บความเย็นที่คุณแม่ต้องพกไปเก็บน้ำนมที่ปั๊มออกมาระหว่างวันและเมื่อถึงบ้านให้รับล้างทำความสะอาดทันที

  • ถอดชิ้นส่วนเครื่องปั้มนมล้างทำความสะอาดทุกวัน

     ที่ปั้มนมไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อก็จะมีอุปกรณ์ในการต่อพ่วงเพื่อใช้ในการทำงานต่างกัน แต่ทุกชิ้นส่วนอุปกรณ์สามารถที่จะถอดล้างได้ ( ยกเว้นตัวเครื่องที่เป็นอุปกรณ์ห้ามโดนน้ำ ) ดังนั้นหากครบวันแล้วคุณแม่ต้องถอดแยกชิ้นส่วนเหล่านั้นเพื่อทำความสะอาด โดยเริ่มจากการถอดแช่ในน้ำยาทำความสะอาดขวดนมสักครู่แล้วใช้แปรงล้างขวดนมขัดถู ไม่ต้องออกแรงมากเพราะบางชิ้นส่วนมีความบอบบาง หากขัดแรงเกินไปจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนและอาจจะทำให้บางอุปกรณ์ชำรุดเสียหายได้ สำหรับชิ้นส่วนที่เล็กมาก ๆ  ต้องใช้แปรงทำความสะอาดขนาดเล็กเป็นตัวช่วยแล้วจึงค่อยนำมาล้างน้ำเปล่าให้สะอาด

  • นำชิ้นส่วนที่ปั้มน้ำนมมา นึ่ง อบแห้งหรือฆ่าเชื้อ

     ทั้งเครื่องปั๊มนมแบบมือและไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์สมัยใหม่ที่มาพร้อมอีกตัวช่วยสำคัญคุณแม่ คือเครื่องนึ่ง เครื่องอบหรือเครื่องฆ่าเชื้อด้วยยูวี ดังนั้นเพื่อให้คุณแม่สบายใจว่าไม่มีสิ่งสกปรกเจือปนเข้าไป หลังการทำความสะอาดด้วยน้ำยา และน้ำสะอาดแล้ว การผ่านขั้นตอนนึ่ง อบหรือฆ่าเชื้อก็จะเป็นขั้นตอนต่อไปที่คุณแม่ต้องทำ หากไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านี้คุณแม่สามารถใช้การลวกน้ำร้อนก็ได้ เป็นการฆ่าเชื้อโรคได้เหมือนกัน เพียงแต่หลังลวกแล้วต้องคว่ำให้แห้งภาชนะสะอาด จะได้มั่นใจว่าอุปกรณ์เตรียมใช้งานในรอบปั๊มนมถัดไป

ข้อควรระวังในการทำความสะอาดและดูแลรักษาชิ้นส่วนของเครื่องปั้มนม

     ในปัจจุบันเครื่องปั้มนมมีหลากหลายยี่ห้อให้คุณแม่ได้เลือกซื้อ “เครื่องปั้มนมยี่ห้อไหนดี” ยังคงเป็นคำถามที่คุณแม่นึกถึง และก่อนจะซื้อคุณแม่สามารถสอบถามวิธีการทำความสะอาดของเครื่องปั๊มยี่ห้อนั้น ๆ  เสียก่อน จะได้ประเมินขั้นตอนในการดูแลรักษาว่าสะดวกสบายหรือยากเกินไป เรียนรู้จากคู่มือของตัวเครื่องให้เข้าใจอย่างละเอียด ว่าอุปกรณ์ชิ้นใดทำความสะอาดอย่างไร เก็บรักษาอย่างไร เพื่ออุปกรณ์เหล่านั้นจะยังคงมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้อย่างปกติที่สุด

     บางอุปกรณ์เป็นซิลิโคนไม่สามารถจะโดยความร้อนสูง ๆ  ได้ ดังนั้นคุณแม่ต้องศึกษาวิธีทำความสะอาดอย่างถูกวิธี คุณแม่จะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์เสริมใหม่มาแทนตัวเก่าที่ชำรุดไปนั้นเอง

การดูรักษาตัวเครื่องปั้มนมไฟฟ้า

     ด้วยความที่เป็นอุปกรณ์ที่มีแผงวงจรไฟฟ้าทำให้ ตัวเครื่องเป็นชิ้นส่วนเดียวที่ไม่สามารถจะโดนน้ำได้ การทำความสะอาดตัวเครื่องจึงทำได้เพียงการใช้ผ้าสะอาด หรือกระดาษทิชชูเปียกเช็ดในส่วนที่มีคราบ รวมถึงฝุ่นผงออกเท่านั้น ระวังอย่าให้น้ำเข้าตัวเครื่องอย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะไปทำความเสียหายกับระบบแบตเตอรี่ของตัวเครื่องได้

     อีกเรื่องที่ต้องระวังมาก ๆ  คือ ระมัดระวังอย่าให้เครื่องตกกระทบกับพื้นหรืออื่น ๆ  เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย หากมีการตกกระแทกรุนแรง คุณแม่อาจจะต้องไปถอยเครื่องใหม่มาใช้เลยทีเดียว บางยี่ห้อถ้ามีร่องรอยของการตกหล่นอย่างชัดเจนการรับประกันก็อาจจะมีปัญหา

     นอกจากคำถามว่า“เครื่องปั้มนมไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี” แล้วคุณแม่ต้องศึกษาเกี่ยวกับการทำความรักษาและการดูแลอย่างละเอียด ก่อนจะใช้งานจริง ทุกขั้นตอนเป็นขั้นตอนง่าย ๆ  แต่ต้องอาศัยความใส่ใจสักหน่อยเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีของคุณแม่ และลูกน้อยให้มากที่สุด